- แบรนด์และพันธมิตร
-
เกี่ยวกับกรุงศรี คอนซูมเมอร์
- เกี่ยวกับกรุงศรี คอนซูมเมอร์
- รู้จักกรุงศรี คอนซูมเมอร์
- พบกับคณะผู้บริหาร
-
นวัตกรรม
- นวัตกรรมจากกรุงศรี คอนซูมเมอร์
- LINE OFFICIAL ACCOUNT
- UCHOOSE
- AI MANOW (น้องมะนาว)
- VOICE AUTHENTICATION
- DATA MONETIZATION
- บริการลูกค้า
-
ข่าวประชาสัมพันธ์
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- ข่าวล่าสุด
- รายการข่าว
- ไลฟ์สไตล์
- ร่วมงานกับเรา


ทุกวันนี้ใคร ๆ ก็ใช้ชีวิตผ่านออนไลน์กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะชอปปิง จองตั๋วหนัง จองที่พัก โอนจ่ายบิล หรือแม้แต่ติดตามเพจเสิร์ฟคอนเทนต์สนุก ๆ บน Facebook หรือแอด Line เพื่อรอรับโปรเด็ด ๆ แต่ในความสะดวกนี้เอง ก็อาจมีภัยซ่อนอยู่แบบไม่ทันตั้งตัว เพราะมิจฉาชีพออนไลน์ก็ฉลาดขึ้นทุกวัน ทั้งเพจปลอม บัญชีปลอมต่าง ๆ ที่ดูคล้ายของจริงแทบแยกไม่ออกเลย
วันนี้ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ เลยอยากชวนทุกคนมารู้ทันกลโกง พร้อมเคล็ดลับง่าย ๆ ในการป้องกันมิจฉาชีพเหล่านี้ไม่ให้เราตกเป็นเหยื่อ จะใช้โซเชียลให้ชิลแค่ไหน ก็ต้องมีสติกันไว้ด้วยนะ!
วันนี้ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ เลยอยากชวนทุกคนมารู้ทันกลโกง พร้อมเคล็ดลับง่าย ๆ ในการป้องกันมิจฉาชีพเหล่านี้ไม่ให้เราตกเป็นเหยื่อ จะใช้โซเชียลให้ชิลแค่ไหน ก็ต้องมีสติกันไว้ด้วยนะ!
บัญชีปลอม เพจปลอม กับกลลวงออนไลน์ที่ต้องระวัง
ต้องยอมรับว่ามิจฉาชีพออนไลน์ในยุคนี้มาในหลากหลายรูปแบบ และแนบเนียนมาก ทั้งสร้างเพจหลอกเป็นร้านค้า บริการ หรือแม้แต่เพจจองที่พัก เพจแจกของก็มีเหมือนกัน! หลายคนอาจจะเคยเจอเพจที่ดูดี มีรูปสวย มีรีวิว แต่พอ CF ไป กลับไม่ส่งของ หรือโอนจองที่พักไปแล้ว พอไปถึงกลับไม่มีชื่อการจอง แบบนี้คือโดนหลอกเต็มๆ
เพจปลอม หรือบัญชีปลอม คือ บัญชี (account) ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยตั้งใจเลียนแบบของจริงของแบรนด์ ร้านค้า หรือองค์กรต่าง ๆ หรือบางทีก็สร้างบัญชีขึ้นมาใหม่เลย โดยใช้ชื่อ รูปภาพ โลโก้ หรือเนื้อหาที่ดูน่าเชื่อถือ เพื่อหลอกลวงให้เหยื่อหลงเชื่อและหลอกโอนเงิน ค่าสินค้า บริการ หรือค่ามัดจำต่าง ๆ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ของ หรือบริการตามที่ตกลงกันไว้ ทำให้เราถูกหลอกโอนเงินไปฟรี ๆ นั่นเอง
เพจปลอม หรือบัญชีปลอม คือ บัญชี (account) ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยตั้งใจเลียนแบบของจริงของแบรนด์ ร้านค้า หรือองค์กรต่าง ๆ หรือบางทีก็สร้างบัญชีขึ้นมาใหม่เลย โดยใช้ชื่อ รูปภาพ โลโก้ หรือเนื้อหาที่ดูน่าเชื่อถือ เพื่อหลอกลวงให้เหยื่อหลงเชื่อและหลอกโอนเงิน ค่าสินค้า บริการ หรือค่ามัดจำต่าง ๆ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ของ หรือบริการตามที่ตกลงกันไว้ ทำให้เราถูกหลอกโอนเงินไปฟรี ๆ นั่นเอง
ตัวอย่างบัญชีปลอมที่พบบ่อย ๆ และต้องระวังเป็นพิเศษ ได้แก่
- บัญชีร้านค้าออนไลน์ที่ขายสินค้ายอดฮิตในราคาที่ถูกจนน่าตกใจ
- เพจจองโรงแรม ที่พัก หรือตั๋วเครื่องบิน ที่เสนอโปรโมชันดีเกินจริง ล่อตาล่อใจ
- บัญชีไลน์แจกของรางวัลใหญ่ ๆ ที่มักจะให้โอนเงินค่าธรรมเนียมเล็กน้อยไปก่อน

วิธีสังเกตเพจ Facebook และ Line Official ปลอมเบื้องต้น
การสังเกตเพจปลอมหรือบัญชี Line Official ปลอมนั้น ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปค่ะ หากเรารู้จุดสังเกตและเช็กก่อนโอนทุกครั้ง ก็จะช่วยป้องกันมิจฉาชีพได้ในระดับหนึ่ง ลองมาดูวิธีสังเกตเบื้องต้นกัน
จุดสังเกตของเพจ Facebook ปลอม
ก่อนจะกดไลก์ กดติดตาม Facebook Page หรือตัดสินใจซื้อของจากเพจไหน ลองใช้เวลาสักนิดตรวจสอบตามนี้ดู
- ชื่อเพจอาจมีผิดเพี้ยน ลองสังเกตดี ๆ อาจมีการสะกดผิดเล็กน้อย เติมตัวอักษร สัญลักษณ์แปลก ๆ หรือใช้ชื่อคล้ายกันมาก ๆ กับเพจจริง
- ไม่มีเครื่องหมาย Verified เพจจริงของแบรนด์ใหญ่ ๆ หรือบุคคลสาธารณะ มักจะมีเครื่องหมายถูกสีฟ้า (Verified Badge) ข้างชื่อเพจ เพื่อยืนยันตัวตนเพจปลอมส่วนใหญ่มักจะไม่มีเครื่องหมายนี้
- จำนวนผู้ติดตามน้อยหรือมากผิดปกติ หากเป็นเพจแบรนด์ดัง แต่มีผู้ติดตามน้อย หรือเพิ่งสร้างไม่นาน รวมไปถึงเพจที่มีคนติดตามมาก แต่ engagement น้อยไม่สอดคล้องกัน อาจเป็นสัญญาณเตือนได้
- รูปแบบโพสต์ดูแปลก ๆ เช่น ใช้ภาษาเร่งเร้าเกินไป ให้รีบตัดสินใจ รีบโอนเงิน เสนอส่วนลดที่สูงเวอร์วัง หรือโพสต์รีวิวที่ดูแล้วไม่น่าใช่ลูกค้าจริง เป็นหน้าม้า
- รูข้อมูลการติดต่อไม่ชัดเจน ไม่มีที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือช่องทางติดต่ออื่น ๆ ที่ตรวจสอบได้จริงนอกเหนือจาก Inbox ของเพจ
จุดสังเกตของ Line Official ปลอม
เดี๋ยวนี้มิจฉาชีพออนไลน์ก็หันมาสร้าง Line Official Account ปลอม เพื่อหลอกโอนเงินเช่นกัน จุดสังเกตง่าย ๆ คือ
- ไม่มีตรา Official Account Verified บัญชี Line Official ของจริงที่ผ่านการรับรองแล้ว จะมี "โล่สีเขียว" หรือบางกรณีเป็น "โล่สีน้ำเงิน" หน้าชื่อบัญชีเสมอ ถ้าไม่มีโล่ ต้องสงสัยไว้ก่อนเลย
- ชื่อบัญชีคล้ายแต่ไม่เหมือน มักจะใช้ชื่อที่ใกล้เคียงกับแบรนด์จริง ๆ อาจมีจุด มีขีด หรือสะกดผิดไปเล็กน้อย
- ข้อความเร่งเร้าให้โอนเงิน หากได้รับข้อความโปรโมชันที่ดูดีเกินจริง แล้วเร่งให้รีบโอนเงินทันที ให้ระวังเป็นพิเศษ อาจเป็นกลลวงของมิจฉาชีพออนไลน์

เช็กยังไงให้มั่นใจก่อนทำธุรกรรมทางการเงิน
นอกจากการสังเกตเบื้องต้นแล้ว การตรวจสอบข้อมูลให้รอบด้านก่อนตัดสินใจเชื่อ หรือทำธุรกรรมใด ๆ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการป้องกันมิจฉาชีพ ลองใช้วิธีเหล่านี้เพื่อความชัวร์
- ตรวจสอบ Page Transparency (ความโปร่งใสของเพจ) บน Facebook เราสามารถคลิกดูข้อมูล "ความโปร่งใสของเพจ" ได้ จะเห็นว่าเพจนั้นสร้างขึ้นเมื่อไหร่ มีประวัติการเปลี่ยนชื่อหรือไม่ เพจที่โปร่งใสมักจะน่าเชื่อถือกว่า
- ยืนยันกับช่องทาง Official อื่น ๆ หากไม่แน่ใจ ให้ลองนำชื่อแบรนด์หรือร้านค้าไปค้นหาใน Google เพื่อเข้าเว็บไซต์ทางการโดยตรง แล้วตรวจสอบว่ามีเพจหรือ Line Official ตามที่เห็นจริงหรือไม่
- หาข้อมูล รีวิว เพิ่มเติม ลองค้นหาชื่อบัญชีปลอมที่น่าสงสัยใน Google หรือกลุ่มเตือนภัยต่าง ๆ อาจเจอคนอื่น ๆ ที่เคยถูกหลอกโอนเงินมาแชร์ประสบการณ์ไว้
- ตั้งสติก่อนสตาร์ทโอน สำคัญที่สุดคือ อย่ารีบร้อน! โปรโมชันที่ล่อใจ หรือคำพูดเร่งเร้า อาจทำให้เราขาดสติ ต้องเช็กก่อนโอนให้มั่นใจเสมอ
- ระวังการขอ OTP หรือข้อมูลส่วนตัวทางโทรศัพท์ มิจฉาชีพบางรายโทรมาหลอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือแอบอ้างว่าเรามีปัญหากับบัญชี แล้วขอ OTP หรือรหัสผ่านไป อย่าหลงเชื่อเด็ดขาด! ธนาคารหรือบริษัทที่แท้จริงจะไม่ขอ OTP ทางโทรศัพท์หรือโซเชียลมีเดียเด็ดขาด
ถ้าโดนหลอกโอนเงินแล้วต้องทำอย่างไร
หากพลาดท่าถูกหลอกโอนเงินให้กับบัญชีปลอมหรือมิจฉาชีพออนไลน์ไปแล้ว สิ่งแรกคือต้องตั้งสติ และรีบดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้ทันที
- รวบรวมหลักฐานให้ครบ แคปหน้าจอโปรไฟล์เพจ/Line ปลอม, ข้อความแชทที่พูดคุยกันทั้งหมด, สลิปการโอนเงิน, และข้อมูลบัญชีปลายทางที่โอนไป เก็บไว้ให้ดีที่สุด
- แจ้งความดำเนินคดี นำหลักฐานทั้งหมดไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในพื้นที่ หรือแจ้งความออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีตามกฎหมาย
- แจ้ง Report ไปยัง Platform รายงาน (Report) เพจปลอมหรือบัญชี Line ปลอมนั้น ๆ ไปยัง Facebook หรือ Line เพื่อให้ทาง Platform ช่วยตรวจสอบและระงับบัญชีมิจฉาชีพออนไลน์
- แชร์เพื่อเตือนภัย นำเรื่องราวไปบอกต่อในช่องทางโซเชียลมีเดีย หรือกลุ่มเตือนภัยต่าง ๆ เพื่อให้คนอื่น ๆ รู้ทันกลโกง และไม่ตกเป็นเหยื่อรายต่อไป
อีกวิธีที่สามารถทำได้เองและทำได้ทันที คือการล็อกบัตรผ่านแอป UCHOOSE ได้ทันที หากคุณใช้บริการบัตรเครดิตในกลุ่มกรุงศรี คอนซูมเมอร์ แล้วพบความผิดปกติ หรือสงสัยว่าจะโดนหลอก สามารถเข้าแอป UCHOOSE แล้วใช้ฟีเจอร์ ล็อกบัตร (LOCK CARD) ได้ทันที เพื่อความปลอดภัย พร้อมทั้งติดต่อศูนย์บริการลูกค้าเพื่อดำเนินการต่อได้ทันที และฟีเจอร์ ปลดล็อกบัตร (UNLOCK CARD) เมื่อต้องการใช้งานต่อ
รวมถึง ฟีเจอร์ จำกัดการใช้งานบัตร (LIMIT CARD USAGE) เลือกกำหนดวงเงินและช่องทางการใช้งานบัตรได้ทันที ในไม่กี่ขั้นตอน ลดการสูญเสียจากหนักเป็นเบา เพื่อให้มั่นใจในทุกธุรกรรม ปลอดภัยด้วยบริการจากกรุงศรี คอนซูมเมอร์
รวมถึง ฟีเจอร์ จำกัดการใช้งานบัตร (LIMIT CARD USAGE) เลือกกำหนดวงเงินและช่องทางการใช้งานบัตรได้ทันที ในไม่กี่ขั้นตอน ลดการสูญเสียจากหนักเป็นเบา เพื่อให้มั่นใจในทุกธุรกรรม ปลอดภัยด้วยบริการจากกรุงศรี คอนซูมเมอร์
ทริคง่าย ๆ ใช้ชีวิตออนไลน์อย่างปลอดภัย
การป้องกันมิจฉาชีพที่ดีที่สุด คือการสร้างเกราะป้องกันให้ตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ ลองนำทริคง่าย ๆ เหล่านี้ไปปรับใช้ เพื่อให้การใช้ชีวิตออนไลน์ของคุณปลอดภัยมากขึ้น
เช็ก 3 ขั้นตอนเสมอ
ก่อนจะเชื่อ กดติดตาม หรือทำธุรกรรมใด ๆ ให้เช็กก่อนโอนเสมอ คือ เช็กความน่าเชื่อถือของเพจ/บัญชีไลน์, เช็กข้อมูลจากช่องทาง Official อื่น ๆ ประกอบ, และเช็กความสมเหตุสมผลของข้อเสนอต่าง ๆ อย่าหลงเชื่อง่าย ๆ
ใช้แอปฯ และเว็บไซต์ทางการเท่านั้น
สำหรับธุรกรรมสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องการเงิน ควรทำผ่านแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ Official ของผู้ให้บริการโดยตรง หลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมผ่านลิงก์ที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือช่องทางอื่น ๆ ที่อาจเสี่ยงต่อการถูกหลอกโอนเงิน
ติดตามข่าวสารเตือนภัยอยู่เสมอ
มิจฉาชีพออนไลน์มีกลโกงใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา การติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการหลอกลวงรูปแบบต่าง ๆ จากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ หรือสื่อสังคมออนไลน์ จะช่วยให้เรารู้ทันและระวังตัวได้ทันท่วงที เป็นการป้องกันมิจฉาชีพที่ได้ผลดี
มั่นใจทุกธุรกรรม ปลอดภัยด้วยบริการจากกรุงศรี คอนซูมเมอร์
ภัยจากมิจฉาชีพออนไลน์และเพจปลอมนั้นอยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด ดังนั้น การเลือกใช้บริการต่าง ๆ ผ่านช่องทางที่เป็นทางการและปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ขอแนะนำให้ลูกค้าทุกท่านเลือกใช้บริการผ่านช่องทาง Official ของเรา ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ www.krungsriconsumer.com, แอปพลิเคชัน UCHOOSE, หรือ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ Line Official ที่มีเครื่องหมายรับรอง เพื่อความปลอดภัย มั่นใจในทุกการทำธุรกรรม และช่วยป้องกันมิจฉาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- บัตรเครดิต ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี
- สินเชื่อส่วนบุคคล กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ยปกติ 25% ต่อปี
- สินเชื่อส่วนบุคคล กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ยปกติ 25% ต่อปี