- แบรนด์และพันธมิตร
-
เกี่ยวกับกรุงศรี คอนซูมเมอร์
- เกี่ยวกับกรุงศรี คอนซูมเมอร์
- รู้จักกรุงศรี คอนซูมเมอร์
- พบกับคณะผู้บริหาร
-
นวัตกรรม
- นวัตกรรมจากกรุงศรี คอนซูมเมอร์
- LINE OFFICIAL ACCOUNT
- UCHOOSE
- AI MANOW (น้องมะนาว)
- VOICE AUTHENTICATION
- DATA MONETIZATION
- บริการลูกค้า
-
ข่าวประชาสัมพันธ์
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- ข่าวล่าสุด
- รายการข่าว
- ไลฟ์สไตล์
- ร่วมงานกับเรา
ปัจจุบัน การใช้บัตรเครดิตกลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของออนไลน์ ชำระค่าบริการต่างๆ หรือแม้กระทั่งการจ่ายค่าอาหารตามร้านค้า แต่สิ่งที่มาพร้อมกับความสะดวกสบายนี้คือความเสี่ยงจากมิจฉาชีพที่มีความสามารถในการหลอกลวงและขโมยข้อมูลบัตรเครดิตของเราได้ทุกเมื่อ ดังนั้น การรู้จักกลลวงที่มิจฉาชีพมักใช้จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก มาดูกันว่ากลลวงยอดฮิตมีอะไรบ้าง และเราจะป้องกันตัวเองได้อย่างไรบ้าง
กลลวงยอดฮิตที่มิจฉาชีพชอบใช้
- หลอกให้เหยื่อลงทุน มิจฉาชีพมักอ้างถึงการลงทุนที่ดูเหมือนจะให้ผลตอบแทนสูง เช่น การลงทุนในทองคำ หุ้นต่างประเทศ หรือแม้กระทั่งสกุลเงินดิจิทัล หลายครั้งพวกเขาจะใช้เทคนิคการพูดคุยโน้มน้าวให้เหยื่อเกิดความเชื่อถือ และลงทุนไปในโครงการที่ไม่มีอยู่จริง วิธีป้องกันคือตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้เสมอ และไม่เชื่อคำชักจูงจากคนแปลกหน้าที่มาติดต่อผ่านโซเชียลมีเดีย
- หลอกให้กู้เงิน (เงินทิพย์) มิจฉาชีพมักหลอกลวงว่ามีบริการกู้เงินด่วน โดยไม่ต้องใช้เอกสารยุ่งยาก และเสนออัตราดอกเบี้ยต่ำมาก แต่หลังจากที่เหยื่อให้ข้อมูลส่วนตัวหรือจ่ายค่าธรรมเนียมแล้ว มิจฉาชีพก็จะหายไปพร้อมกับเงิน วิธีป้องกันคือการหลีกเลี่ยงบริการที่ดูดีเกินจริงและติดต่อสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือโดยตรงเท่านั้น
- หลอกให้หลงรัก บางครั้งมิจฉาชีพอาจใช้วิธีการหลอกให้เหยื่อเกิดความสัมพันธ์เชิงรักใคร่ผ่านโลกออนไลน์ และเมื่อลูกลวงสำเร็จแล้ว จะทำการขอเงินหรือขอความช่วยเหลือทางการเงิน วิธีป้องกันคือต้องมีสติและระวังคนที่เข้ามาในชีวิตเราแบบรวดเร็วโดยเฉพาะในโลกออนไลน์
- หลอกให้ทำงานออนไลน์ รายได้ดี งานสบาย มิจฉาชีพมักประกาศหางานออนไลน์ที่ให้รายได้ดี เช่น พนักงานรีวิวสินค้า ผู้ช่วยส่วนตัว หรือพนักงานป้อนข้อมูล เมื่อเหยื่อสนใจสมัครงาน มิจฉาชีพอาจจะขอเงินประกันหรือข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญ วิธีป้องกันคือให้ทำการตรวจสอบบริษัทนั้นๆ อย่างละเอียดก่อนสมัครงาน
- หลอกว่าเป็นญาติพี่น้อง เพื่อน เจ้านาย คนรู้จัก เพื่อขอยืมเงิน เทคนิคนี้คือการที่มิจฉาชีพปลอมตัวเป็นคนรู้จัก หรือผู้ใหญ่ในที่ทำงานแล้วติดต่อขอยืมเงิน บางครั้งอาจส่งข้อความทางแชทหรือโทรศัพท์ วิธีป้องกันคือการตรวจสอบโดยตรงกับคนที่มิจฉาชีพอ้างว่าเป็น
- หลอกกดลิงค์ต่างๆ เช่น ได้รับรางวัล โบนัส ต่ออายุบริการต่างๆ มิจฉาชีพจะส่งลิงค์ที่ดูเหมือนจริงจากบริษัทหรือสถาบันการเงิน เช่น ลิงค์แจ้งได้รับรางวัลใหญ่ หรือแจ้งเตือนให้ต่ออายุบริการต่างๆ เมื่อเหยื่อกดลิงค์และกรอกข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลก็จะถูกขโมยไป วิธีป้องกันคือไม่กดลิงค์จากแหล่งที่ไม่รู้จัก และติดต่อเจ้าของบริการโดยตรง
- หลอกให้กดรับพัสดุ เช่น มีการสั่งของ พัสดุตกค้าง กลลวงนี้มักมาในรูปแบบของข้อความแจ้งเตือนว่ามีพัสดุตกค้างหรือมีการสั่งซื้อสินค้าจากบัญชีของเหยื่อ เมื่อเหยื่อกดลิงค์เพื่อตรวจสอบ มิจฉาชีพก็จะได้รับข้อมูลส่วนตัวไป วิธีป้องกันคือการตรวจสอบกับบริษัทจัดส่งโดยตรง
เคล็ดลับการป้องกันตัวจากมิจฉาชีพ
- ตั้งค่าการแจ้งเตือนการใช้บัตรเครดิต เพื่อรับรู้ถึงธุรกรรมทุกครั้งที่เกิดขึ้น
- ตรวจสอบรายการธุรกรรมเป็นประจำ หากพบรายการที่ไม่ทราบที่มาควรติดต่อธนาคารทันที
- อัปเดตระบบปฏิบัติการ/แอปพลิเคชัน เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ เพื่อ ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ความปลอดภัย
ปปง. เปิดลงทะเบียนรับเงินคืนสำหรับผู้เสียหายจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์
ในยุคที่การติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์กลายเป็นช่องทางหนึ่งที่มิจฉาชีพใช้ในการหลอกลวงประชาชน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) จึงได้ดำเนินมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์โดยเฉพาะ ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งคอลเซ็นเตอร์สามารถลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิเพื่อรับเงินคืนได้ ผ่าน 3 ช่องทางหลัก ดังนี้- ยื่นด้วยตนเองที่สำนักงาน ปปง. สำหรับผู้ที่สะดวกในการเดินทาง สามารถมายื่นแบบคำร้องขอคุ้มครองสิทธิได้โดยตรงที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
- ยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ผู้เสียหายสามารถยื่นแบบคำร้องผ่านทางไปรษณีย์ โดยส่งถึง "สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน" ที่เลขที่ 422 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โดยให้ระบุที่มุมซองด้านบนว่า "ส่งแบบคำร้องขอคุ้มครองสิทธิรายคดี..." เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
- ยื่นทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซต์ สำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกสบาย สามารถลงทะเบียนผ่านทางออนไลน์ที่เว็บไซต์ https://khumkrongsit.amlo.go.th ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สะดวกและรวดเร็ว
สำหรับผู้ที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-219-3600 หรือ 1710
- บัตรเครดิต ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวน
ตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี
- สินเชื่อส่วนบุคคล กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี