5 เทคนิควางแผนชอปปิงให้เหมาะสม

วันที่ : 18 Apr 2023 ผู้เขียน : Krungsri Consumer

หากเราอยากซื้อสินค้าสักชิ้น ทุกวันนี้มีหลากหลายช่องทางที่เราจะชอปปิงได้อย่างง่ายดาย ช่องทางยอดฮิตคงหนีไม่พ้น หยิบโทรศัพท์มือถือ กดสั่งซื้อของก็มาส่งให้เราถึงหน้าประตูบ้าน เทคโนโลยีทำให้ได้รับความสะดวกสบาย แต่ก็ตามมาด้วยการเสียเงินได้ง่ายขึ้นเช่นกัน และหมดเงินไปเท่าไหร่แล้วกับคำว่าของมันต้องมี

วันนี้มีเทคนิคการวางแผนชอปปิงให้เหมาะสมแบบง่ายๆ มาฝากกัน

1.ทำบัญชีรายรับรายจ่าย

เทคนิคง่ายๆ ที่หลายคนมองข้ามคือการทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อจะได้รู้เงินสดที่เหลือต่อเดือนและตั้งงบชอปปิงได้ หากเดือนไหนชอปปิงเกินงบที่ตั้งไว้ ควรหยุดใช้ทันทีและประเมินดูว่าหมดเงินไปกับค่าใช้จ่ายอะไร ต้องพิจารณาลดในเดือนถัดไปหรือไม่

2.ตั้งสติก่อนซื้อ

ตัดคำว่าของมันต้องมีออกก่อนและตั้งสติคิดให้ดีก่อนว่าของชิ้นนี้จำเป็นหรือไม่ หรือเป็นแค่ความอยากได้ และเมื่อไหร่ที่คิดลังเลว่าจะซื้อดีหรือไม่ดี อย่าเพิ่งซื้อสินค้าเด็ดขาด ให้กลับไปคิดทบทวนอีกครั้ง ความอยากได้ในตอนแรกอาจจะลดลงไปหรือไม่อยากได้สินค้านั้นแล้วก็เป็นไปได้

3.เปรียบเทียบราคาและคุณภาพ

เวลาจะซื้อสินค้าลองเปรียบเทียบราคาก่อนที่จะซื้อ ดูโปรโมชันหรือรอซื้อตอนช่วงลดราคาและหากเป็นสินค้าที่ต้องใช้ยาวนานหลายปี ให้เน้นคุณภาพสินค้ามากกว่าดูเพียงแค่ราคาด้วย เช่น ตู้เย็น ทีวี เครื่องซักผ้า โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ตรวจสอบว่ามีการรับประกันสินค้าและบริการหลังการขายก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแล บำรุงรักษา

4.ชอปปิงไปออมเงินไป

ลองตั้ง Mission เก๋ๆ ในการชอปกันดู ลองหักออมเงินทุกครั้งหลังชอปปิง หากกลัวว่าจะใช้เงินหมดจนไม่เหลือเก็บ เรามีตัวช่วยอย่าง Mobile Application Kept ของธนาคารกรุงศรี ที่มีกระปุกเงิน Fun หากจ่ายเงินผ่านบัญชี Kept ไปเท่าไหร่ กระปุกเงิน Fun ก็ทำหน้าที่เก็บเงินให้เรา และสามารถตั้งค่าเก็บเงินเป็น % หรือระบุจำนวนเงินต่อครั้งในการเก็บ ของยอดใช้จ่ายได้รวมทั้งมีแคมเปญพิเศษต่างๆมากมาย ที่จะทำให้เราสนุก ได้เงินเก็บ แถมได้ดอกเบี้ยสูงอีกด้วย

5.ใช้บัตรเครดิตให้เกิดประโยชน์

ต้องระลึกเสมอว่าวงเงินบัตรเครดิตนั้นเป็นเงินในอนาคต แต่ก็อย่ากลัวการใช้บัตรเครดิตจนไม่กล้าใช้ หากเรามีการวางแผนการใช้งานที่ดี และใช้ให้เกิดประโยชน์ จะทำให้ได้สิทธิประโยชน์จากบัตรเครดิตอย่างมากมาย เช่นส่วนลดหรือเงินคืนจากโปรโมชัน,คะแนนสะสม,ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย หากมีการชำระเต็มจำนวนตามรอบบัญชี

แชร์บทความนี้ไปยัง

บทความน่าสนใจอื่นๆ